อาการไมแกรน สามารถรักษาให้หายขาด เป็นปกติ โดยไม่ต้องกินยาไป

อาการไมแกรน

อาการไมแกรน ไมเกรน (Migraine) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ wbcooking โดยเฉพาะเมื่อมีอาการปวดที่รุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้ เราจะมากล่าวถึงสาเหตุ และอาการของไมเกรน รวมถึงการรักษาต่างๆ เพื่อผู้อ่านที่กำลังประสบปัญหาไมเกรน จะสามารถนำความรู้นี้ไปดูแลตนเอง รวมถึงเพื่อหาแนวทางการรักษา ที่เหมาะสมกับตนเองได้

สาเหตุของการเกิดไมเกรน  เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ส่งผลให้การหลั่งสารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุลกัน จึงทำให้หลอดเลือดสมองบีบหรือคลายตัวมากกว่าปกติ และเกิดเป็นอาการปวดศีรษะแบบเป็นจังหวะตุบๆ ขึ้น โดยต้นเหตุที่ทำให้ระบบประสาทไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นนั้น มักสัมพันธ์กับอาการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ท้ายทอย หรือบริเวณบ่า

กล่าวคือเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ท้ายทอย เกิดการหดเกร็ง จะเกิดปม Trigger point แทรกตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อดังกล่าวอาการไมแกรน และส่งผลให้เลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนขึ้นไปเลี้ยงศีรษะได้เต็มที่ ทำให้เส้นประสาท สัญญาณได้ไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นความผิดปกติในการไหลเวียนเลือดและการส่งสารสื่อปร ะสาท และทำให้เกิดอาการปวด ตึงบริเวณ ขมับ หลังหู หน้าผาก กระบอกตา หัวคิ้ว ตามแนวของเส้นประสาทที่ทำงานไม่สมบูรณ์

อย่างไรก็ตามอาการไมเกรน นั้นเปรียบเสมือนความผิดปกติที่แฝงอยู่ ไม่ได้แสดงอาการตลอดเวลา แต่เมื่อมีปัจจัยต่างๆ มากระตุ้นเพียงเล็กน้อย อาการก็จะกำเริบขึ้นมา ซึ่งปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดไมเกรนนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องหมั่นสังเกตุอาการของตนเอง ว่าปัจจัยใดที่กระตุ้นให้มีอาการ เพื่อหาทางหลีกเลี่ยง เราสามารถแบ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้มีอาการไมเกรนหลักๆ ได้ดังนี้

1. ปัจจัยจากตนเอง

  • อารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน
  • การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือนอนไม่เป็นเวลา
  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในผู้หญิง จะสัมพันธ์กับช่วงมีรอบเดือน
  • การใช้สายตาที่ผิดสุขลักษณะบ่อยๆ

2. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

  • แสง เช่น แสงสว่างจ้า แสงสลัวๆ ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้สายตา
  • เสียง เช่น เสียงดัง เสียงสูงแหลม
  • กลิ่น เช่น กลิ่นฉุน กลิ่นที่ไม่ชอบ
  • สภาพอากาศ เช่น อากาศที่ร้อนอบอ้าว หรือการอยู่ในห้องทึบที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เป็นต้น

3. อาหารบางชนิด ได้แก่

  • คาเฟอีน ในเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ซึ่งอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยอาการไมเกรนอาจเกิดขึ้น เมื่อร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป หรือเมื่อร่างการต้องการเคเฟอีน
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ (dehydration) จึงสามารถส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนได้
  • ช็อกโกแลต เพราะในช็อกโกแลตมีส่วนผสมคาเฟอีนและสาร beta-phenylethylamine ซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน
  • ชีสต่างๆ เนื่องจากมีสารไทรามีน ที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีน สารไทรามีนนั้นเป็นสารที่สามารถ กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน
  • เนื้อสัตว์แปรรูป อย่าง เบคอน ไส้กรอก หรือเนื้อสัตว์รมควัน เนื่องจากมีสาร ไนเตรต ที่สามารถกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หรือปวดไมเกรน
  • อาหารที่มีรสเค็มจัด เนื่องจากเมื่อมีเกลือ (Sodium) ปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น และสามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว หรือปวดไมเกรนได้

อาการไมแกรน มีลักษณะอย่างไร

อาการปวดไมเกรนนั้น อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการไมแกรน หรือหลายอย่างรวมกันดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดหน้าผาก ปวดหลังหู ปวดกระบอกตา หรือปวดหัวคิ้ว โดยมากมักจะมีอาการเพียงข้างเดียว ซึ่งอาจสลับข้างไปมาซ้าย-ขวา แต่กรณีที่มีอาการเรื้อรังมานานหรือรุนแรง ก็อาจปวดทั้งสองข้างพร้อมกันได้
  • ลักษณะการปวดจะเป็นการปวดแบบตุ้บๆ (คล้ายเส้นเลือดเต้น) หรือปวดแบบตื้อๆ ตลอดเวลา
  • ในเคสที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน ร่วมด้วย
  • ในบางเคสอาจมีอาการผิดปกติด้านการมองเห็นร่วมด้วย ได้แก่ ตาพร่า เห็นแสงจ้า เห็นภาพเบลอ เป็นต้น
  • ระดับความรุนแรงของอาการปวดจะเริ่มได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย พอรำคาญ จนไปถึงระดับที่รุนแรงมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ในบางรายจำเป็นต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมดและนอนพัก เพื่อให้อาการปวดลดลง
  • อาการปวดไมเกรนสามารถกินระยะเวลาได้ตั้งแต่ 4 – 72 ชม

อาการปวดศีรษะที่ไม่ใช่อาการไมเกรน และควรรีบพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น

  • อาการปวดศีรษะที่มีอาการแขน-ขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ใบหน้าเบี้ยวร่วมด้วย ซึ่งอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่มาจากสมองได้ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ/แตก (Stroke) เป็นต้น
  • อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง และเฉียบพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง
  • อาการปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง มีไข้ หนาวสั่น อาจบ่งบอกถึงภาวะเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาการปวดศีรษะบ่อยและค่อยๆ รุนแรงมากขึ้น โดยอาจจะปวดมากขณะนอนหลับ จนทำให้ต้องตื่น หรือมีปัญหาด้านการสื่อสาร/การพูด/การเคลื่อนไหวร่วมด้วย ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะเนื้องอกในสมอง

อาการปวดศีรษะดังกล่าว ไม่ใช่สัญญาณของไมเกรน หากเริ่มมีอาการ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *